การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ถือเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาทางความ
สัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นความต่อเนื่องจากความเชื่อม
โยงด้านความมั่นคงและการทูต ซึ่งมีต่อเนื่องมากว่าสี่ทศวรรษ ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจดัง
กล่าว ทำให้บุคคลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากเดิมที่อยู่ในกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง
การเมือง หรือการทูต เปลี่ยนแปลงไปโดยจะมีผลอย่างมีนัยสำคัญกับกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ
การลงทุน การพัฒนาธุรกิจ แรงงาน รวมถึงประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งถือเป็นสิ่งที่มีผลกับความ
ก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศในทุกด้าน
การออกแบบ ก่อสร้าง และใช้อาคารอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ
พัฒนาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ และเป็นสัญลักษณ์ของความสำเร็จในการพัฒนาประเทศ โดย
ทุกๆประเทศในอาเซียนล้วนแต่มีกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร อันเป็นเครื่องมือของรัฐ
เพื่อจุดประสงค์ให้เกิดประสิทธิภาพของอาคารดังกล่าว รวมถึงให้เกิดความปลอดภัยในชีวิต
ทรัพย์สิน และ สุขลักษณะของผู้ใช้อาคารอีกด้วย
การที่ประเทศสมาชิกทุกประเทศในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะพัฒนาในเรื่องการ
ควบคุมอาคารไปข้างหน้าได้อย่างเหมาะสมนั้น จะต้องมีการศึกษากฎหมายควบคุมอาคาร
ระหว่างกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ทั้งในด้านเจตนารมย์ ขอบเขตอำนาจ และการบังคับใช้ และ
สามารถนำ ความรู้ ความเข้าใจ อันเกิดจากการศึกษานั้น มาพัฒนาระบบการควบคุมอาคารของ
รัฐและเปิดโอกาสให้เอกชนทำความเข้าใจกฎหมายควบคุมอาคาร อันเป็นเงื่อนไขหลักของการ
ลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญยิ่ง
ด้วยหลักคิดดังกล่าว กรมโยธาธิการและผังเมืองจึงได้ดำเนินการว่าจ้างศูนย์บริการ
วิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในโครงการ “ศึกษา วิเคราะห์ เปรียบเทียบและการแปล
กฎหมายในกลุ่มประเทศอาเซียนในเรื่องกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารเพื่อเตรียมความ
พร้อมในการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน” โดยมีความหวังอยา่ งยิ่งวา่ จะเกิดประโยชน์ต่อ
หลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับอาคาร เพื่อ
นำไปพัฒนาประเทศชาติให้เกิดความ มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนต่อไป